แม้จะมีแรงกดดันให้ IMF ทำการขายทองบางส่วนเพื่อลดหนี้สินของประเทศยากจน ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับระดับหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการหนุนเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
JDC หรือ Jubilee Debt Campaign ใช้โอกาสนี้ในการเรียกร้องให้ IMF เริ่มขายทองบางส่วน เพราะการขายทองมีความจำเป็นที่จะช่วยเหลือหลายๆประเทศที่ยากจนและเศรษฐกิจชะลอตัวจากการระบาดของไวรัส
จะเห็นได้ว่า ปีนี้ราคทองคำปรับขึ้นจากแถว 1,500 เหรียญ มาบริเวณ 1,900 เหรียญ จึงสะท้อนว่าการสำรองทองคำที่ 90.5 ล้านออนซ์ จะมีมูลค่าราว 1.75 แสนล้านเหรียญ หรือมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น 3.8 หมื่นล้านเหรียญ
JDC ระบุว่า หาก IMF ขายทองออกอย่างน้อย 7% ของที่สำรองไว้ทั้งหมด จะได้รับผลตอบแทนมากถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญ “ซึ่งถือว่าเพียงพอในกานจะช่วยปลดหนี้ให้ประเทศยากจนได้มากกว่า 70 ประเทศภายในช่วง 15 เดือนจากนี้ และมูลค่าการถือครองที่ IMF จะยังมีอยู่จะมีมูลค่าสูงกว่า 2.6 หมื่นล้านเหรียญตั้งแต่ต้นปีนี้
อย่างไรก็ดี แม้จะมีข้อเรียกร้องดังกล่าว แต่ก็ไม่มีแนวโน้มว่า IMF มีความตั้งใจที่จะขายทองที่สำรองไว้ โดยเฉพาะความไม่แน่นอนต่างๆที่เกิดขึ้น
โฆษก IMF ระบุว่า ยังไม่มีแผนจะขายทองในเวลานี้ ท่ามกลางปัจจัยต่างๅที่ยังแข็งแกร่ง หนุนดุลบัญชี (Balance Sheet) ขณะที่ยังมีแรงซื้อทองได้ในช่วงที่ราคาปรับตัวลง ซึ่ง IMF เข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งที้จะช่วยเหลือประเทศสมาชิกยากจนได้
World Gold Council (WGC) กล่าวว่า ทองคำถือเป็นปัจจัยสำคัญในพอร์ตของ IMF ดังนั้น IMF น่าจะไม่เลือกขายทอง ท่ามกลางธนาคารกลางหลายๆแห่งที่กำลังเผชิญวิกฤติจะยังเดินหน้าหนุนให้เกิดการเข้าซื้อทองคำเพิ่มต่อในปีนี้ แม้ว่าจะไม่ซื้อเยอะเท่าปีก่อนก็ตาม
ภาพรวมในปี 2018 และ 2019 มีการซื้อทองมากสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 656 ตัน และ 667 ตันตามลำดับ ขณะที่ปีนี้บรรดาธนาคารกลางต่างๆมีการซื้อทองเพิ่มกว่า 200 ตัน
ที่มา: Kitco
Comments